ปัจจุบันตัวเลขของผู้ป่วยกลุ่ม โรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วโรคในกลุ่มนี้จะมีการสะสมอาการทีละนิดโดยผู้ป่วยไม่รู้ตัว เนื่องจากเป็นกลุ่มโรคที่ไม่ได้มีอาการอย่างชัดเจน หากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ ก็มักไม่ทราบ และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันเวลา จนกลายเป็นอาการเรื้อรังได้ในที่สุด
อาการกลุ่มโรค NCDs มีอะไรบ้าง รู้ให้ทันก่อนกลายเป็นโรคร้าย
สำหรับอาการกลุ่มโรค NCDs มักไม่แสดงอาการให้เห็นตั้งแต่เริ่มต้น ถึงอย่างนั้นก็สามารถเช็กอาการเบื้องต้นได้ เพื่อนำมาพิจารณาว่าคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือไม่ โดยอาการของกลุ่มโรค NCDs มีอะไรบ้าง เราได้รวบรวมมาให้แล้ว ดังนี้
รู้เท่าทัน! ปรับพฤติกรรม ห่างไกล โรค NCDs
- โรคเบาหวาน จะเริ่มมีอาการปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน อ่อนเพลียง่าย น้ำหนักลด หรือหากเป็นแผลจะหายช้ากว่าปกติ
- โรคความดันโลหิตสูง อาการเตือน ได้แก่ มีอาการปวดศีรษะ มึนงงหลังตื่นนอน เหนื่อยง่าย ตาพร่ามัวบ่อย รวมถึงอาจมีอาการใจสั่นร่วมด้วย
- โรคหลอดเลือดสมอง มีอาการแขนขาอ่อนแรง รู้สึกชาตามนิ้วมือ และนิ้วเท้า บางรายอาจมีอาการปากเบี้ยว หรือพูดไม่ชัด
- โรคหัวใจขาดเลือด มักมีอาการแน่นหน้าอก จุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ หรือบริเวณคอหอย บางรายอาจมีอาการหน้ามืด และใจสั่น
- โรคมะเร็ง ส่วนมากเกิดจากผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรัง รักษาไม่หาย หรือมีก้อนเนื้อบริเวณตาตุ่ม แต่หากพบในบริเวณช่องท้องจะกระทบต่อระบบขับถ่าย หรือมีเลือดออกโดยหาสาเหตุไม่ได้
- โรคอ้วนลงพุง วัดได้จากการวัดรอบเอว โดยผู้ชายจะมีรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร ผู้หญิงที่มีรอบเอวเกิน 80 เซนติเมตร มีอาการเหนื่อยง่าย และมีปัญหาเรื่องข้อเข่าจากน้ำหนักตัวที่มาก
วิธีการปฏิบัติตัว เพื่อรับมือกับ อาการกลุ่มโรค NCDs
หลังจากที่รู้ว่า อาการของกลุ่มโรค NCDs มีอะไรบ้าง กันไปแล้ว สิ่งต่อมาที่ทุกคนควรรู้ คือ วิธีการปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรค NCDs โดยสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมประจำวัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่าง ๆ ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้
รู้เท่าทัน! ปรับพฤติกรรม ห่างไกล โรค NCDs
- งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- งดการสูบบุหรี่
- หาวิธีผ่อนคลายจากความเครียด เพื่อไม่ให้ตัวเองอยู่ในสภาวะตึงเครียด เช่น หาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย หรือทำงานอดิเรก เป็นต้น
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และควรหลับให้สนิท 6-8 ชั่วโมง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที หรือสัปดาห์ละ 5 ครั้ง
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผัก และผลไม้
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ของมัน ของทอด และอาหารจำพวกแป้ง
- หากมีอาการเจ็บป่วย ควรพบแพทย์เพื่อรับยา และการรักษาที่ถูกต้อง ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง
- ควรตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอ เพื่อเช็กดูว่าควรปรับพฤติกรรมอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิต
อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อกำจัดความเสี่ยงได้อย่างตรงจุด ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เป็นตัวการของการก่อโรค รวมถึงตรวจสุขภาพร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจเช็กความแข็งแรงของร่างกาย และหาแนวทางป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ทันเวลา ก่อนที่จะสายเกินไป
พาส่อง โรค NCDs มีอะไรบ้าง ให้คุณป้องกัน ก่อนสายเกินแก้
ขอบคุณข้อมูลจาก https://hillkoff.com/