ปัจจุบันคนไทยเริ่มมีภาวะอ้วนลงพุงมากขึ้น ซึ่งเกิดจากอาหารแปรรูป และอาหารไขมันสูง เพื่อความสะดวกสบายในการบริโภค รวมถึงกิจวัตรประจำวันที่เร่งรีบจนไม่มีเวลาไปออกกำลังกาย
ทำให้คนส่วนใหญ่เสี่ยงที่จะเกิดภาวะอ้วนลงพุงมากขึ้น และนำไปสู่โรคร้ายต่าง ๆ ที่ตามมาโดยไม่รู้ตัว บทความในวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากภาวะอ้วนลงพุง ลดยังไงไม่ให้เสียสุขภาพ ไปดูกัน
การป้องกันภาวะอ้วนลงพุง ทำได้อย่างไรบ้าง ?
เคล็ด (ไม่) ลับดูแลตัวเองง่าย ๆ ให้ห่างไกลภาวะอ้วนลงพุง
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต และพฤติกรรมการกินอาหารที่เหมาะสม ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น โดยสามารถปฏิบัติตามภาวะอ้วนลงพุง ลดยังไงดังต่อไปนี้
-
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ในขั้นตอนแรกของการจัดการกับปัญหาอ้วนลงพุง คือ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารในแต่ละวันทีละน้อย โดยเริ่มจากทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว หรืออาหารที่ปราศจากไขมันชนิดที่ไม่ดี เช่น เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และไข่ขาว รวมถึงจำกัดปริมาณการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง และมีรสชาติจัด อย่างไรก็ตาม ควรทานอาหารให้ครบ 3 มื้อต่อวัน ไม่ควรงดมื้อใดมื้อหนึ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการอยากทานมากกว่าปกติในมื้อถัดไป
-
ดื่มน้ำอย่างน้อย 7 – 8 แก้ว
นอกเหนือจากการออกกำลังกาย การดื่มน้ำเปล่าให้ได้ 7 – 8 แก้วต่อวัน ก็มีส่วนช่วยลดปริมาณไขมันที่สะสมในร่างกายได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยลดความอยากอาหาร และขับสารพิษออกจากร่างกายอีกด้วย ทั้งนี้ ไม่ควรดื่มเกิน 10 แก้วต่อวัน เนื่องจากไตอาจทำงานหนักจนเกิดอาการบวมน้ำ พร้อมด้วยอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียน
-
จัดการกับความเครียด
ความเครียด เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดไขมันสะสมโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากร่างกายจะเกิดการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมาในเวลาที่ตึงเครียด ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะเข้าไปเพิ่มการเคลื่อนตัวของไขมันไตรกลีเซอไรด์ รวมถึงเกิดการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ไขมัน ทำให้เกิดความอยากอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และอาหารที่มีไขมันสูง
-
พักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เฉลี่ยวันละ 7 – 8 ชั่วโมง มีส่วนช่วยระบบเผาผลาญพลังงานทำงานได้ดีขึ้น หากพักผ่อนไม่เพียงพอร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งความหิวไปยังสมอง ทั้งยังผลิตฮอร์โมนเลปติน (Leptin) ฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยกดความรู้สึกหิว และกระตุ้นความรู้สึกหิวมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุสำคัญของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น จนกลายเป็นภาวะอ้วนลงพุงในที่สุด
-
หลีกเลี่ยงบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ นับเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการสะสมไขมันในร่างกาย โดยเฉพาะเบียร์ที่มีปริมาณน้ำตาล และแคลอรีสูง ส่งผลต่อการทำงานของระบบเผาผลาญไขมันโดยตรง อีกทั้งบุหรี่ยังเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ และภาวะหัวใจขาดเลือด ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในเกณฑ์อ้วนลงพุงควรหลีกเลี่ยงบุหรี่ และแอลกอฮอล์ เพื่อการควบคุมน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพ
ภัยร้ายที่มาพร้อม โรคอ้วนลงพุง ไม่ควรนิ่งนอนใจ
อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาภาวะอ้วนลงพุงนั้น ต้องอาศัยทั้งระยะเวลา ความอดทน และวินัยอย่างสูง พร้อมกับควบคุมอาหารการกินอย่างเคร่งครัด และการออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่ดี และห่างไกลจากภาวะอ้วนลงพุง
ขอบคุณข้อมูลจาก https://hillkoff.com/