HealthLifestyle

ทำความรู้จัก พรีไบโอติก ฮีโร่ของระบบลำไส้

เชื่อว่าช่วงนี้หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับ พรีไบโอติก หรือการกินพรีไบโอติก ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับกลุ่มคนที่รักสุขภาพ แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้จัก หรือไม่ได้ติดตามกระแสมากนัก ก็อาจจะสงสัยได้ว่าสิ่งที่เรียกว่าพรีไบโอติกคืออะไร และมีความสำคัญกับร่างกายของเรามาก-น้อยแค่ไหน จำเป็นที่จะต้องเติมเข้าไปในร่างกายหรือไม่? บทความนี้มีคำตอบให้กับคุณ

ทำความรู้จักกับ พรีไบโอติก เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้

พรีไบโอติก (Prebiotic) เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายของเราไม่สามารถดูดซึมได้ ซึ่งต้องถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์ที่มีชื่อคล้ายกัน อย่าง โพรไบโอติก (Probiotic) ซึ่งอาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก 

โดยตัวพรีไบโอติกจะมีหน้าที่ในการสร้างความสมดุลให้กับจุลินทรีย์ในลำไส้ และช่วยกระตุ้นการทำงาน รวมไปถึงการเจริญเติบโตของแบคทีเรียดีที่อยู่ภายในร่างกาย โดยพรีไบโอติกสามารถพบได้ในหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง และถั่วแดง เป็นต้น

ไขให้กระจ่าง พรีไบโอติก และโพรไบโอติก ต่างกันอย่างไร

ด้วยความคล้ายกันของชื่อจุลินทรีย์ทั้งสองตัว ทำให้บางคนอาจสับสนได้ว่าตัวไหนทำหน้าที่อะไร และมีความเหมือน หรือแตกต่างกันมากแค่ไหน บทความนี้จะช่วยคุณไขกระจ่างทุกข้อสงสัย

สำหรับโพรไบโอติกจะแตกต่างจากพรีไบโอติก ตรงที่โพรไบโอติกพบได้จากอาหาร อย่าง โยเกิร์ต กิมจิ และมิโซะ เป็นต้น ซึ่งส่วนมากจะเป็นอาหารประเภทหมักดอง โดยโพรไบโอติกส์เป็นจุลินทรีย์สำคัญสำหรับระบบทางเดินอาหาร ช่วยต่อต้านจุลินทรีย์ และแบคทีเรียที่ไม่ดีต่อร่างกายออกไป แต่โพรไบโอติกจะแข็งแรงได้ก็ต่อเมื่อได้รับพรีไบโอติกเข้าไปเป็นเสริมความแข็งแกร่งนั่นเอง หรือเรียกง่าย ๆ ว่า พรีไบโอติก คืออาหารของโพรไบโอติกนั่นเอง

6 คุณประโยชน์ของ พรีไบโอติก ที่คุณต้องไม่พลาด

  1. ช่วยให้จุลินทรีย์ในลำไส้ผลิตกรดไขมันสายสั้น ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมแร่ธาตุ แคลเซียม และแมกนีเซียม
  2. ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน Macrophase ซึ่งเป็นระบบภูมิคุ้มกันที่สำคัญต่อลำไส้
  3. ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย ช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อจากแบคทีเรีย และลดโอกาสสำหรับการเกิดอาการท้องเสีย
  4. ช่วยดูดซับสารพิษ หรือแบคทีเรียที่ไม่ดีออกจากร่างกาย และช่วยปรับสมดุลระบบลำไส้ให้ขับถ่ายเป็นเวลา ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้
  5. เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากพรีไบโอติกจะถูกหมักบ่มด้วยจุลินทรีย์ในลำไส้ จนเกิดเป็นกรดไขมันสายสั้นที่เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้สมองรับรู้ว่าตอนนี้ร่างกายมีความรู้สึกอิ่ม
  6. ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดัน หรือโรคระบบหัวใจ เนื่องจากพรีไบโอติกจะช่วยดักจับไขมัน

พรีไบโอติก กินตอนไหนดีที่สุดกันนะ?

แนะนำให้กินพรีไบโอติกตอนท้องว่าง เพราะหากกินในเวลาที่ใกล้เคียงกับมื้ออาหาร อาจส่งผลให้จุลินทรีย์เกาะไปกับตัวอาหารมากกว่าการที่จะไปเกาะอยู่ภายในลำไส้ หรือทางเดินอาหาร ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการของพรีไบโอติกทำงานลดลง 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม คอลลาเจนลดสิว , คอลลาเจนผิวขาว 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.bumrungrad.com/th/

https://gloryofficialth.com/

แนะนำ ร้านต่อเติมกันสาด คุณภาพได้มาตรฐาน

Previous article

ทำความรู้จัก กลยุทธ์ Content Marketing

Next article