Lifestyleการลงทุน

ขั้นตอนการ วางแผนสร้างบ้าน สำหรับมือใหม่

การสร้างบ้านสักหลัง ไม่ใช่ว่าคิดก็สร้างบ้านได้ทันที แต่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความต้องการของผู้อยู่อาศัย การออกแบบ การตกแต่ง และฟังก์ชันการใช้งานต่าง ๆ รวมไปถึงขนาดของพื้นที่ที่ต้องคำนึงถึงก่อนสร้างบ้าน เพื่อให้การสร้างบ้านเป็นไปได้อย่างราบรื่น และมีความสุขในการอยู่อาศัย 

ดังนั้นก่อนสร้างบ้านคุณจะต้อง วางแผนสร้างบ้าน ให้ละเอียด และรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง ซึ่งขั้นตอนการ วางแผนสร้างบ้าน จะมีอะไรบ้างมาดูกัน 

7 ขั้นตอน วางแผนสร้างบ้าน มีอะไรบ้าง 

  • สำรวจที่ดินเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสร้างบ้าน 

สำหรับใครที่มีที่ดินในการปลูกสร้างบ้านกันอยู่แล้ว ต้องไม่ลืมสำรวจพื้นที่โดยรอบก่อนว่าเป็นอย่างไร มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันหรือไม่ แล้วการเดินทางเป็นอย่างไร สะดวกแก่การเข้า – ออกหรือเปล่า และพื้นที่โดยรอบมีความแออัดมากน้อยขนาดไหน เพื่อเวลาที่สร้างบ้านเสร็จสมบูรณ์แล้ว สามารถอยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องของปัจจัยภายนอก

  • ต้องถมที่ดินก่อนสร้างบ้าน 

เมื่อสำรวจที่ดินไปแล้วต่อมา คือ การเตรียมตัวสร้างบ้าน โดยให้ดูว่าพื้นที่ที่ต้องการปลูกสร้างนั้นมีหน้าดินเป็นอย่างไร ต้องถมดินเพิ่มหรือไม่ ถ้าหากที่ดินมีการทรุดตัว หรือมีระดับพื้นดินที่ค่อนข้างต่ำ และเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วม แนะนำให้ถมดินให้สูงกว่าถนนคอนกรีตประมาณ 50 เมตร จะได้ป้องกันบ้านจากน้ำท่วม เมื่อฝนตกหนัก 

  • สำรวจจำนวนสมาชิกภายในบ้าน 

แน่นอนว่าการจะสร้างบ้านสักหนึ่งหลัง สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงเป็นอันต้น ๆ คือ สมาชิกภายในบ้าน ควรตรวจสอบจำนวน เพื่อออกแบบขนาดของบ้านให้เหมาะกับความต้องการของสมาชิก 

  • จำนวนพื้นที่ใช้สอยที่ต้องการ 

สำรวจพื้นที่ใช้สอย และความต้องการใช้งานพื้นที่ภายในบ้าน เพื่อให้บ้านมีพื้นที่ใช้สอยที่เพียงพอกับความต้องการของสมาชิก ซึ่งจะช่วยลดความแออัดของพื้นที่ ช่วยทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างสะดวก และทำให้ชีวิตในการอยู่อาศัยมีความสุขมากขึ้น

  • ตรวจสอบงบประมาณการสร้างบ้าน 

ตรวจสอบงบประมาณการสร้างบ้านของคุณ ว่าเพียงพอต่อความต้องการที่จะสร้างบ้านสักหนึ่งหลังหรือไม่ งบประมาณค่าใช้จ่ายครอบคลุมทุกฟังก์ชันการใช้งานหรือเปล่า เพื่อป้องกันไม่ให้งบประมาณบานปลาย หรือมีข้อผิดพลาดเมื่อลงมือสร้างบ้าน 

การขออนุญาตสร้างบ้าน โดยจะต้องยื่นขออนุญาตกับสำนักงานเขตท้องถิ่นในพื้นที่นั้น ๆ และทางเจ้าหน้าที่ ก็จะทำการตรวจสอบเพื่อทำการอนุญาตให้ก่อสร้าง เมื่อคุณได้รับหนังสือรับอนุญาตก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว ก็อย่าลืมที่จะทำสำเนาเก็บเอาไว้ และแจกจ่ายให้กับสถาปนิก วิศวกร และผู้รับเหมา เผื่อว่าวันใดวันหนึ่งการก่อสร้างเกิดผลกระทบต่อเพื่อนบ้าน หรือถูกร้องเรียน ก็สามารถนำเอกสารเหล่านี้ไปชี้แจงได้ 

  • มีความรู้ และเข้าใจแบบบ้านอย่างละเอียด

ก่อนสร้างบ้านทุกครั้ง ควรจะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการสร้างบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้วัสดุ และอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงแบบแปลนบ้าน เพื่อให้การสร้างบ้านเป็นไปได้อย่างราบรื่น และตรงกับความต้องการมากที่สุด อีกทั้งยังช่วยลดปัญหา ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างสร้างบ้านอีกด้วย 

การเลือกบริษัทรับสร้างบ้าน ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างบ้านของคุณให้เป็นไปอย่างราบรื่น และสร้างบ้านให้ตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุด แนะนำให้เลือกบริษัทรับสร้างบ้าน ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีความเป็นมืออาชีพในการสร้างบ้าน เพื่อที่จะได้สร้างบ้านให้ออกมาอย่างสวยงามไร้ที่ติ หมดปัญหาเมื่อเข้าอยู่อาศัยหลังสร้างบ้านเสร็จ 

  • ขอเลขที่บ้าน น้ำ และไฟฟ้า 

เมื่อสร้างบ้านเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะต้องไม่ลืมขอเลขที่บ้าน เลขที่น้ำ และไฟฟ้า โดยสามารถยื่นขอหลังจากบ้านเสร็จ หรือก่อนบ้านเสร็จก็ได้ แนะนำให้ยื่นขอเลขที่บ้านก่อน แล้วจึงค่อยยื่นขอเลขที่น้ำ และไฟจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามลำดับ 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.ddproperty.com/

https://www.royalhouse.co.th/ 

รวม อุปกรณ์จัดเก็บ สิ่งของ และไอเทมที่ทุกบ้านควรมี

Previous article

วิธีเก็บ หมูสด อย่างไร ? ให้อยู่ได้นาน

Next article